Monday, September 7, 2009

หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของญี่ปุ่น (CASBEE) Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency

CASBEE (Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency)

เป็นแบบประเมินของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงาน Japan Sustainable Building Consortium (JSBC)[14] มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ประกอบด้วยบุคลากรจากวงการก่อสร้าง หน่วยงานราชการ และนักวิชาการ โดยการสนับสนุนจากกระทรวงที่ดิน โครงข่าย และการคมนาคม (Ministry of Land, Infrastructure, and Transport) ซึ่ง JSBC ได้พัฒนาระบบ CASBEE อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะประกอบด้วยเครื่องมือดังต่อไปนี้
- CASBEE for New Construction - CASBEE for Existing Building

- CASBEE for Renovation- CASBEE for Heat Island

- CASBEE for Urban Development

- CASBEE for an Urban Area + Buildings

- CASBEE for Home (Detached House)

ความเป็นมา
เนื่องจากมีการเติบโตของสิ่งก่อสร้างแบบยั่งยืนตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80 ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาของวิธีการที่หลากหลายที่จะประเมิณค่าสิ่งแวดล้อม (Environmental performance)ของอาคาร. วิธีการที่ถูกพัฒนาในต่างประเทศ เช่น BREEAM BREEAM (Building Research Establishment Environmental Assessment Method) ในสหราชอาณาจักร, LEEDTM (Leadership in Energy and Environment Design) ในสหรัฐอเมริกา และ GB Tool (Green Building Tool) ซึ่งเป็นโครงการระดับนานาชาติ วิธีการเหล่านี้ได้รับความสนใจจากทั่ว ซึ่งประกอบด้วยผลลัพธ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่มีอยู่ที่จะสร้างให้เกิดแรงดึงดูดแก่ลูกค้า เจ้าของโครงการ นักออกแบบ และผู้ใช้อาคาร ให้พัฒนาและสนับสนุนสิ่งก่อสร้างแบบยั่งยื่นเป็นอย่างมาก ระบบCASBEE ได้ถูกพัฒนาตามนโยบายดังต่อไปนี้
1) The system should be structured to award high assessments to superior buildings, thereby enhancing incentives to designers and others.
ระบบควรมีโครงสร้างที่จะสามารถประเมิณอาคารชั้นสูง เพื่อที่จะทำให้เกิดการตื่นตัวและการพัฒนาของนักออกแบบ และอื่นๆ

2) The assessment system should be as simple as possible.
ระบบควรจะเรียบง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้

3) The system should be applicable to buildings in a wide range of applications.
ระบบควรสามารถถูกประยุกต์ใช้กับอาคารในวงกว้าง

4) The system should take into consideration issues and problems peculiar to Japan and Asia.
ระบบควรคำนึงถึงข้อพิจารณาและปัญหาเฉพาะสำหรับประเทศญี่ปุ่นและประเทศแถบเอเซีย


ตาราง ตัวอย่างของตัวชี้วัดในการประเมินอาคารยั่งยืนของ CASBEE LEED และ GB Tool
ที่มา : www.arch.tu.ac.th


วิธีการประเมิณผล
CASBEE ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ภายนอกและภายใน ซึ่งถูกแบ่งโดยขอบเขตสมมติ ซึ่งถูกกำหนดโดยขอบเขตที่ตั้งและองค์ประกอบอื่นๆ และปัจจัยสองสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สองส่วนได้แก่ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในเชิงลบภายนอกขอบเขตของพื้นที่สมมติที่ถูกปิดล้อม (พื้นที่สาธารณะ) และการพัฒนา living amenity สำหรับผู้ใช้อาคารนั้นถูกพิจารณาในด้านต่อด้าน ตัวแปร่สองตัวนั้นถูกกำหนดในรูปแบบของ Q และ L ในรูปแบบการประเมิณหลัก และ ประเมิณแยก


Q (Quality : ภาคคุณภาพ) : Building Environmental Quality & Performance : คุณภาพสิ่งแวดล้อมของอาคารและประสิทธิภาพอาคาร
ประเมิณ “improvement in living amenity for the building user” ภายใต้ พื้นที่สมมมตที่ปิดล้อม (พื้นที่ส่วนบุคคล) ที่เป็นตัวแทนของผลกระทบเชิงบวกภายในขอบเขตขอบเขตค่า “Q”


L ( Loadings : ภาคภาระ): Building Environmental Loadings: ดัชนีค่าพลังงานสะสมรวมของความสามารถในการนำทรัพยากรที่ได้จากระบบนั้นกลับมาใช้ใหม่ของอาคาร
ประเมิณ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในเชิงลบภายนอกขอบเขตของพื้นที่สมมติที่ปิดล้อม (พื้นที่สาธารณะ) (ผลกระทบเชิงลบภายนอกขอบเขตค่า “Q”)


ที่มา : www.ibec.or.jp/CASBEE


CASBEE ได้ครอบคลุมการประเมิณใน 4 ด้าน คือ
1) ประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Efficiency)
2) ประสิทธิภาพด้านทรัพยากร (Resource Efficiency)
3) สภาพแวดล้อมในพื้นที่ (Local Environment)
4) สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment)
โดยการประเมิณเหล่านี้จะถูกแยกประเภทอีกตามภาพด้านล่าง โดยจะถูกแบ่งเป็น BEE numerator Q(Building Environmental Quality and Performance :คุณภาพสิ่งแวดล้อมของอาคารและประสิทธิภาพอาคาร) และ BEE Denominator Q (Reduction of Building Environmental Loading : การลดดัชนีค่าพลังงานสะสมรวมของความสามารถในการนำทรัพยากรที่ได้จากระบบนั้นกลับมาใช้ใหม่ของอาคาร)
โดย “Q” ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำหรับการประเมิณ คือ

Q1- สภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environment)
Q2- Quality of Service
Q3 – สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารบนพื้นที่ (Outdoor Environment on Site)
เช่นเกียวกันกับ “L” ที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
L1 – พลังงาน (Energy)
L2 – ทรัพยากร และวัสดุ (Resources and Materials)
L3 – Off – Site Environment

ที่มา : www.ibec.or.jp/CASBEE

คำนวณค่าดัชนีมาตรฐานอาคาร BEE (Building Environmental Efficiency)
โดยนำค่า Q หารด้วยค่า L

ดังนั้น อาคารที่มีคุณภาพสูงสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพอาคารที่กำหนด มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน ปลอดภัย คงทน มีคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดี มีประสิทธิภาพในการใช้งาน ก็จะคำนวณได้ค่า Q สูง
อาคารที่สร้างแล้วไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในการก่อสร้าง มีการจัดการขยะของเสีย มีการนำเศษวัสดุกลับมาใช้
ได้ มีการออกแบบที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมโดยรอบกลมกลืนกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เอื้อประโยชน์กับชุมชน ก็จะคำนวณได้ค่า L ต่ำ
หากค่า Q สูง และค่า L ต่ำ ก็จะได้ค่าดัชนีที่สูง เมื่อนำไปกำหนดลงใน chart มาตรฐาน ก็จะสามารถระบุ
ระดับมาตรฐานอาคารได้ว่าเป็น A B C หรือ S ซึ่ง S คือ Sustainable Building นับว่าเป็นระดับมาตรฐานสูงสุด






No comments:

Post a Comment