วันที่ 1 (4 ก.ค.)
1. บ้านอาจารย์ทรงชัย วรรณกูล

- มีพืชพันธุ์ สมุนไพร ลาน แดด ลม ฝน เกิดเป็น “ป่าอาหาร” เกิดความสมบูรณ์ ชุ่มฉ่ำ ลานเป็นตัว fade ระหว่างธรรมชาติกับที่อยู่อาศัย เกิดภาวะน่าสบาย มีพืชคลุมดิน มีไม้ผลตลอดฤดู
- สร้างความสมดุล ดิน น้ำ ลม ไฟ ประเพณีวัฒนธรรม มีการอยู่อย่างเรียบง่าย
- ลานอเนกประสงค์ ตากอาหาร ข้าวของ (ลานดิน)
พอเสร็จจากบ้าน อ.ทรงชัย พวกเราก็เดินไปฝั่งตรงข้ามเพื่อทานอาหาร และดูการฟ้อนรำพื้นบ้าน
2. หอวัฒนธรรมพื้นบ้านพื้นบ้านไทยวน กับ พิพิธภัณฑ์ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
ประวัติของยวนจากคำเล่าของอาจารย์ทรงชัย
ยวน เป็นรากเหง้าของกลุ่มภาคเหนือ เดิมเป็นอาณาจักรล่มสบายตามธรรมชาติ ทะเลสาบเชียงแสน (แม่สาย) เป็นนครเมืองยาง พระเจ้ามังราย ตีเอารอบด้าน ลำพูน ลำปาง น่าน (หริภุญชัย) ต่อมาเป็นเมืองล้านนาส่วนเชียงแสน เป็นเมืองลูกหลวงที่สำคัญ ร.1 ครองราช 27 ปี กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ตีเชียงแสน ทำให้เชียงแสนเป็นเมืองร้าง แล้วขนเชลยไปไว้จังหวัดต่างๆ
- การฟ้อนเล็บ เดิมอยู่ในคุ้มวัง (คุ้มหลวง)
- ฟ้องตุง ตุงไม้ตุงผ้า ตุงโลหะ มีความเชื่อว่าถ้าตกนรก จะเกาะตุงขึ้นมาได้
- ฟ้อนนกกิงกาหลา เห็น Outfit ชุดนี้แล้วนึกถึงชุดประจำชาติของเจี๊ยบ เยาวลักษณ์ไตรสุรัตน์ ที่เอาไปประกวด Miss Universe ขึ้นมาทันที
- รำบูชาแม่น้ำป่าสัก
- ตีกลองล้านนาระหว้างช่วงเข้าพรรษาที่วัด
3. อุทยานประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร
- พระสี่อิริยาบถ พระพุทธรูปไม่ได้แนด้วยปูน แต่เรียงศิลาแลง แล้วฉาบปูน งามแบบอุดมคติ จีวรดูบางพลิ้ว ริ้วมีบางหนา เกิด Contrast พระยืนมีการทำวงโค้งเพื่อโอบล้อมพระพุทธรูป ได้สัดส่วนสัมพันธ์กับ Figure ไม่เกิดความเวิ้งว้างมาเกาะมิติของกาลเวลา
วันนี้เขามีเวียนเทียนกัน แต่ไม่ได้เวียนกะเขาด้วย เพราะกลัวขึ้นรถไม่ทัน เสร็จ เราก็ทานข้าวแล้วเข้าโรงแรม กว่าจะถึงโรงแรมก็เหนื่อยสุดๆ แต่ก็นั่งดูหนังจีน แถมนอนไม่หลับอีกต่างหาก (กลัวผี) เลยนอนฟังเพลงกับเจี๊ยก(กลัวผีเหมือนกัน)ไปเรื่อยๆ(จริงๆแล้วมันน่ากลัวกว่าผีอีก)
วันที่ 2 (5 ก.ค.)
ตีมา 6 โมงกว่าได้ ล้อหมุน 8 โมง ปรากฏว่าเจอล้อหมุนฟรี เพราะรถออกจริงๆก็ 9 โมงเข้าไปแล้ว
1. วัดไหล่หิน ลำปาง


- ลานวัดเป็นลานทราย ต่างจากลานบ้านทีเป็นลานดิน สะดวกต่อการเก็บกวาดใบไม้ และป้องกันวัชพืช เดิมให้ถอดรองเท้า โดยมีกุสโลบายว่า บางครั้งคนจะเดินตัดวัดเข้าบ้านแล้วเท้าจะเหยียบทรายออกไป แต่มีการทดแทนโดยนำทรายจากแม่น้ำมาคืน
- หอพระไตรปิฎก เป็นหลังคาโครงไม้ กระเบื้องดินเผาโบราณ ปูนโบราณสีขาวนวล สีธรรมชาติใช้ยางไม้ ใบตอง กล้วย ตำผสมยางปิดเนื้อไม้ ไม่ให้ปลวกกิน
- มีความงามของความเก่า มี Bio Elements มาเกาะ เกิดความงาม เนื่องจากโบราณเข้าใจถึงความเป็นวัสดุ + กาลเวลา มีความขรึม สงบ scale สอดคล้องกัน
- เดิมขื่อขวางพระประธาน จึงแก้ปัญหาโดยการตัดขื่ออก แล้ววางบนตุ๊กตา
วัดนี้ทำเท้าระบมมาก คงดัดนิสัยคนสมัยก่อนได้ดีทีเดียว
2. วัดพระธาตุลำปางหลวง
- ซุ้มวิหารสร้างบนเนิน มีวิหารคดรายล้อม กำแพงเชื่อว่าฉาบปูน จนกระทั่งเหลือเพียงอิฐ ทางเข้าเป็นซุ้มประตูแบบล้านนา (ซุ้มโขง) ซุ้มมณฑปวางทอดกำแพงเป็นวงโค้ง
- มีการถ่าย Space ต้ยโพธิ์ ->ลาน->พญานาค->กำแพงซุ้มประตู
- การซ้อนชั้นหลังคาเป็นคติความเชื่อเรื่องสวรรค์
- มีลานทราย มีไม้กระจาวเป็นไม้ในตำนาน Elements ของไม้ค้ำไม้กระจาวทำให้เกิดความโปร่ง
- วิหารคดดูเรียบง่าย แต่เล่นการปิดล้อม Space ของวิหารคด เกิดการเลื่อนไหลของ Space
- หอสรงน้ำมีการปรับรูปแบบสถาปัตยกรรม เข้าเป็นอาคารเล็ก มีการเล่นกับ Positive Negative Space สามารถน้ำไปประยุกต์ต่อยอดเป็น Contemporary Architecture ได้ ( เช่น ห้องน้ำกลางแจ้งในรีสอร์ท)
3. วัดปงยางคก จังหวัดลำปาง
- มีความประณีตของไม้ การปิดทอง มีความกราณีตของการเข้าไม้ เข้าเดือยไม้ มีลานทรายกว้าง
- วิหารดูทึบเพราะสเกลของเสา
- วิหารเจ้าแม้จามเวที สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1253(710AD)
- มีลานกรวด ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ (เดิมเป็นลานทราย)
หลังจากวัดปงยางคก อาจารย์จิ๋วสั่งจอดรถปุ๊บปั๊บ เดินเข้าบ้านคนไปถ่ายรูป ตอนนั้นในใจกลัวลูกซองมากกกกกก ไม่กล้าเดินเข้าไป รูปจะเป็นมุมซูมซะมาก วันนี้กลับโรงแรมไปนอนหลับสนิท เหนื่อยจนลืมกลัวผี
วันที่ 3 (6 ก.ค.)
วันนี้ล้อหมุนฟรีอีกแล้ว รถออกเวลาเดิมไปดูบ้านที่ลำปาง บริเวณนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.ทุ่งกว๋าว
- ใช้กระบวนปัญญาของช่าง เกิดไวยกรณ์ที่อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งคนออกแบบต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
วันนี้จดอะไรไม่ค่อยทัน เดินลุยถ่ายรูปอย่างเดียว คร่าวๆ คือ
- บ้านจะเริ่มมีอะไรใหม่ๆ ใช้ของใหม่ แต่ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นพื้นเมือง
- บ้านหลายหลังจะมียุ้งข้าว ซึ่งมีลักษณะเป็นเรือน มีแต่ประตู ไม่มีบันได
- มีพืชผักสวนครัว สมุนไพร
1. วัดข่วงกอม ม.9 ต.แจ้ป้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
- เป็นวัดใหม่ ที่นำภูมิปัญญาเดิมมาประยุกต์ กำแพงหินใช้วิธีทำไม้แบบ แล้วเทปูนโยนหินลงไปคล้ายแบบของ Frank L. Wright สภาพวัดดูใหม่ อาจารย์บอกว่าถ้าเป็นกำแพงอิฐอาจจะเหมาะกว่า
- ภายในมีพระประธานเดิมที่ชาวบ้านสักการบูชา แต่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีพระประธานองค์ใหม่มาแทนที่
วันที่ 4 (7 ก.ค.)
วันนี้ล้อหมุนฟรีอีกแล้ว (ทุกวันเลยนะเนี่ย)
1. วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตำบลเวียงเหนือ จังหวัดลำปาง
- อาคารเป็นแบบปิด มีลักษณะการถ่ายแรงแบบ wall bearing และกรอบผนัง สองด้านไม่เหมือนกัน ไม่มีโถงมุก หลังคาเห็นโครง เป็นระเบียบโครงสร้างไม้ สัดส่วนกำลังแรงเกิดสัดส่วนงดงาม ประดับโครงสร้างเหมือนวัดไหล่หิน
- ประตูกลางยกกำแพงขนาบเสา มีทั้งเสาเหลี่ยม กลม มีสิงห์ 2 ตัว การที่มีสิงห์หันหน้าเข้าหากันเป็นการเน้นทางเข้าให้เด่นชัดขึ้น มีลักษณะลอยตัว ทำให้ปริมาตรด้านหน้าไม่กระด้าง
- คอสองที่ยื่นออกมานอกวิหารเรียกว่า แผงแล ส่วนด้านปลายมีการแกะไม้ให้คล้ายปากนก เรียกว่า เสาขอมแล
- บ้านไม่ลดหลังคา ถ้าบ้านลดจะเสียความเป็น domestic scale ไป ในส่วนของเจดีย์ถูกวางชิดกำแพง หมู่บ้านรายล้อม โบสถ์มีขนาดเล็ก วิหารเป็นศาลาการเปรียญ มีตำนานเกี่ยวกับน้ำเต้มของนางสุชาดา
- ความแตกต่างระหว่างงานสถาปัตยกรรมภาคเหนือและภาคกลาง สังเกตได้จากบริเวณคอสอง คือภาคเหนือจะมีการทิ้งช่วงระหว่างหลังคาด้วยคอสอง แต่ในภาคกลาง หลังคาจะเชื่อมกัน เพื่อการกันน้ำย้อน มักใช้อิฐทำผนังเนื่องจากป่าไม้ไม่อุดมสมบูรณ์เท่าภาคเหนือ และลักษณะของแปลนก็จะแตกต่างกัน
- ลักษณะของตัววิหารจะมีการเน้นทางเข้าด้วยหลายๆอย่าง และมีการบังคับเส้นทางให้คนไปบริเวณหน้าวิหาร คือ
1 ทางเดินทอดยาวสู่บันได
2 การถูกส่วนหนึ่งของวิหารกั้นไม่ให้ space ไหลผ่านเลยไป
3 การโค้งของพุ่มต้นไม้ที่โอบล้อมเน้นไปทางด้านหน้าวิหาร
- ในส่วนของพระบรมธาตุดอนเต้า มีมณฑปทรงพม่า ลานมีอาคารปิดล้อม เช่น เจดีย์ ทำให้เกิดความสง่า ลักษณะเป็นศิลปะแบบพม่า ซึ่งเดิมเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้มีการผสมศิลปะของทั้งสองชาติเข้าด้วยกัน ลักษณะเด่นของความเป็นศิลปะพม่า คือการเล่นกับกระจก วัสดุเป็นกระจกที่ถูกทับด้วยตะกั่ว มีความประณีตสูง มีการประดับ element เช่น ตราสัญลักษณ์ของอังกฤษ หรือเทวดาตัวเล็กบริเวณเพดาน ทำให้ดูแล้วเกิดความเป็น dynamic โปร่งโล่ง
- ในส่วนโบสถ์มีครูบาศรีวิชัย ซึ่งไม่ได้ยึดกฎเกณฑ์ดั้งเดิม แต่ยังมีหลักการอยู่ และลักษณะงานจะเนี้ยบ (การอนุรักษ์ควรยึด order เดิม เรียนรู้ประวัติ รักษารูปแบบเดิม โดยไม่ให้เสียคุณค่าไป)
2. วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง
- มีการเสริมเนินแบบไม่ฉาบปูน มีการลดหลั่นชั้น
- กลางมณฑปมีพระพุทธรูป 4 องค์ มีต้นโพธิ์แผ่ มีลายประดับพระพิมพ์ เป็นพระพุทธองค์ 1000 องค์
- แนวคิด เป็นโครงสร้างแบบล้านนา (มีเสาประกบ มีไม้ตั้งไหม)
- เจดีย์ย่อมุมปิดทอง เน้นทางเข้า 4 ทิศ ใช้ซุ้มขอมลำปางหลวง บริเวณกำแพงแก้วที่เตี้ย
- เจดีย์จะวางเยื้องประตูเล็กน้อย ให้เห็นเส้นย่อมุม (ไม่น่าเบื่อ)
- เสาประกบถ้าเพื่อให้รูปด้านสมดุล Space ดูเบาโปร่ง
- Space ไม่อึดอัด ถ้าเป็นเสาต้นเดียวจะดูเหมือนอาคารดูรับน้ำหนักมากๆจะดูอาคารอึดอัด
3. วัดศรีรองเมือง
- รัฐบาลอังกฤษ เปิดบริษัท East-Asia ทำการค้าป่าไม้ โดยนำคนกลางมาเป็นสื่อกลางการค้า เช่นมอญ พม่า ไทยใหญ่ และร่วมกันสร้างวัดหลายแห่ง
- วิหารสูงสุดเป็นที่ตั้งพระประธาน ยกใต้ถุนสูง หลังคาเชื่อมกันด้วยรางน้ำ เป็นหลังคา 3 หลังคา มีลักษณะเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ มีขนาดใหญ่ เมื่อมองจากภายนอก จะเห็นการเรียงอาคารลดหลั่นตามความสำคัญ
- มีการใช้สังกะสีเป็นวัสดุ นำมาเชื่อมกับสถาปัตยกรรม มีการฉลุลาย ประดับกระจกสี
- พื้นที่การยกระดับลดหลั่นในพื้นที่เดียวกันเชื่อมกัน ลดระดับตามความสำคัญ
- มีการประกับกระจกสีแวววาว เสมือนเป็นวิมานสวรรค์มีความวิจิตร (เป็นการจำลองสวรรค์โดยใช้วัตถุประดับให้ตระการตา)
4. บ้านโบราณ พ่อหลวงซุม ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
- เป็นการรับ Colonel style มาปรับกับไทย ฝีมือช่างไม้ดี บริเวณเสามีการใช้ไม้รัดตีนเสา การออกแบบบ้านเป็นการออกแบบสำหรับผู้อยู่โดยเฉพาะ
5. บ้านโบราณ บ้านมะกอก ม.4 ต.มะกอก จ.ลำพูน เจ้าบ้านชื่อ บัวลา ใจจิตร
เป็นบ้านที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี ปัจจุบันก็ยังเป็นที่อยู่ โดยตัวบ้านจะเน้นส่วนห้องนั่งเล่นเป็นสำคัญเพราะมีขนาดห้องที่ใหญ่ และรายล้อมด้วยห้องนอน ห้องพระ ทางเดินจากบันได และห้องอีกห้องหนึ่ง จากตัวบ้านสามารถมองเห็นโครงสร้างรางน้ำได้อย่างชัดเจน และเห็นการถ่ายแรง การแทนที่ของเสาที่เสริมมา เป็นต้น
เจ้าของบ้านเป็นคนส่งนางงามเข้าประกวดด้วย มีการส่งเพื่อนๆไป recruitment แต่น่าสงสาร น้องเลิฟไม่ผ่านเกณฑ์ ฮ่าฮ่า
วันนี้เราเข้าพักที่สนามกีฬา 700 ปี เชียวใหม่ เป็นห้องรวม ห้องน้ำรวม ค่อนข้างปลาบปลื้ม เพราะคนเยอะทำให้ไม่กลัวผี แถมอบอุ่นอีกต่างหาก มีเปิดคอร์สสอนโยคะ รีดไขมันกันอย่างสนุกสนานอีกด้วย
วันที่ 5 (8 ก.ค.)
1. พระวิหารหอคำหลวง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพันเตา
- เป็นวิหารไม้ ที่มีการปรับระเบียบการยึดผนังด้วยลูกฟัก
- มีการลดชั้นหลังคา เพื่อแสดงฐานะความสูงศักดิ์ของหลังคาอาคาร โดยไม่ได้ขยายโครงสร้างหลังคา
- มีการซอยขนาดไม้เป็นระบบ แบบเดียวกับหน้าบรรณ ไม่มีฝ้าเพดาน Space ดูใหญ่โต
- เป็นฝาไม้ประดับด้วยลูกฟักสวยงาม หลังคาหน้าหลังลดขั้นเท่ากัน (ปกติงานล้านนาจะลดขั้นด้านหน้ามากกว่าด้านหลัง) มีการประดับลวดลายของซุ้มประตู แต่ไม่ประดับลวดลายที่โครงสร้างไม้ แต่แสดงความประณีตของโครงสร้างแทน เป็นวิธีที่พัฒนามาจากเรือนเครื่องผูก มีการลดน้ำหนักของฝาให้เป็นชิ้นๆ ประดับลูกฟัก
2. โรงแรม U จังหวัดเชียงใหม่
- เดิมเจ้าของเป็นขุนนางเก่า มีส่วนเชื่อมบางอย่างกับอาคารไม้ เป็นลักษณะ domestic scale เป็นอาคารเก่าเชื่อมกับอาคารใหม่ มีการใช้สีของไม้ เล่นระนาบ ใช้ผนังขาวเน้นทางเข้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงบ่อน้ำที่ถูกออกแบบมาให้เน้นทางเข้าอีกขั้นหนึ่ง
- ระเบียงอาคารด้านข้างเชื่อมทั้งสองด้าน มีลักษณะเอียง ใช้สีออกดำ การเอียงมีลักษณะคล้ายค้ำยัน อาคารใหม่ไม่ทำลายอาคารเดิม แต่กลับเน้นให้อาคารเดิมโดดเด่นยิ่งขึ้น มีการใช้ detail เดิม ใช้ความเป็น modern แบบเรียบเกลี้ยง ทำให้ไม่ข่มอาคารเดิม เล่นวัสดุให้เข้ากับอาคารเดิม มีทางเชื่อม เส้นสระน้ำนำสายตาสู่อาคารเดิม เส้นตั้งกำแพงสอดคล้องเส้นตั้งใต้ถุนอาคารบริเวณทางเข้า
3. วัดทุ่งอ้อ จ.เชียงใหม่
4. วัดอินทราวาส (ต้นเกว๋น) ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่
- เดิมอยู่อย่างบริสุทธิ์ เกิดการรวมกันของสภาพแวดล้อม รักษาลานทรายได้ดี เล่นระเบียบของลานทราย
- มีแมกไม้ขึ้นตามธรรมชาติ เกิดเป็น cultural landscape ใช้ไม้ต่างๆ โดยเฉพาะต้นตาล เข้ากันกับสถาปัตยกรรม วัสดุเป็นแบบดั้งเดิม ยิ่งมีกาลเวลามาสัมผัสยิ่งมีความงาม
- กุฏิถูกโอบล้อมด้วยศาลา (วิหารคด) กระเบื้องพื้นเมือง มณฑปแบบภาคเหนือ สำหรับสรงน้ำพระธาตุ วัดมีความอ่อนช้อยกว่าวัดลำปางหลวง พื้นยกต่ำ แต่หลังคาสูง ทำให้ดูลอยตัว ตัววิหารดู flow และ soft เวลาตัววิหารขยายออกดูเหมือนเป็นระนาบเดียวกัน แต่ดูแล้วไม่เป็นกล่องเพราะมีแสงเข้ามาเกี่ยวข้องให้เกิดมิติของผนังมากขึ้น เพดานเป็นสีแดงชาด (ฝุ่นผงจีน ผสมกับยางไม้ เรียกว่ารัก สำหรับรักษาเนื้อไม้ ไม่ให้สีหลุด) และเป็นสีทอง ขาว และดำ (รัก เกิดจากใบตองเผาร่วมกับไม้) เสาสีแดงปรุลาย ดอกซ้ำ ทิ้งระยะเสาลายกรุเชิง เสาและระดับหลังคาต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดความไหลลื่นไปยังพระประธาน ด้านหลังพระประธานมีแท่นด้านหลังอยู่ ซึ่งเป็นรูปพญานาคเลื้อยสู่ปลายยอด ผลักให้พระประธานดูลึกเข้าไป รวมถึงดาวที่อยู่ตรงขื่อแต่ละดวงจะนำสู่พระประธานเช่นกัน
5. โรงแรมราชมังคลา
- ได้แนวความคิดและแรงบันดาลใจจากลำปางหลวง วัดต้นเกว๋น วัดไหล่หิน วัดปงยางคก และวัดจากประเทศเนปาลและจีน (เช่นพวก partition) ซึ่งสามารถเห็นได้จาก โครงสร้าง การเจาะช่อง ลานทราย ไม้พื้นถิ่นต่างๆ ลักษณะของโรงแรมเป็นการนำแบบล้านนามาผลิกแผลง
โรงแรมสวยมาก อยากเข้าพักซักครั้ง แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเอาผ้ามาทำเป็น Approach (ใช่มั๊ย)
วันที่ 6 (9 ก.ค.)
1. เรือนโบราณ (อยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เรือนไทยลื้อ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
- เจ้าบ้านชื่อ ตุด ใบสุขันธ์
- ไม่ใช่เรือนกาแล มีพื้นที่ใช้สอยเหมือนกัน หัวนอนหันตะวันออก สังเกตจากหิ้งพระ มี 5 ห้องเสา (เรือนประธาน ไม่ตีฝ้า กระเบื้องแตกก็รู้ ซ่อมโดยดึงตะขอออกแล้วเสียบอันใหม่เข้าไปแทนที่) บางพื้นที่กลัวเสาบัง จึงมีการดัดแปลงเปลี่ยนโครงสร้าง มีร้านน้ำ ระดับชานกับพื้นต่างกัน ใต้ถุนมีความชื้น สัตว์เลี้ยงจะจิกกินอาหารแถวนั้นเพราะจะมีเศษอาหารอยู่ บริเวณใต้ถุนบ้านที่ชื้นมักจะมีไส้เดือน ซึ่งเอาไว้เป็นเหยื่อปลา มีการปลูกไม้พุ่มไม้ดอกหอม พวกมะเฟือง หมาก พลู เจ้าบ้านมักจะนอนริมสุดของเรือน (โดยเฉพาะแถวหิ้งพระ (คนเฒ่าคนแก่) ห้องนอนจะทำแยกกัน เมื่อสมาชิกเพิ่มก็จะเพิ่มเรือนเอา และมีฮ่อมริน อยู่ระหว่างห้องเป็นทางเดินเหมือนเส้น circulation เส้นหนึ่ง แผ่นไม้กระดาน เรียกว่า แป้นเกล็ด ส่วนของห้องน้ำผู้หญิงจะมีห้องน้ำส่วนตัว เป็นไม้ขัดแตะบัง น้ำไหลลงด้านล่างลงสวน เวลารับแขกมีคนโทน้ำ คนโบราณมักจะเอาคนโทน้ำไว้ทำบุญด้วย ทำให้คนแต่ก่อนมีคนโทเก็บไว้เยอะ
- มีการเชิญผีตระกูล คือในเครือญาติจะมีผีเดียวกัน ผู้อาวุโสจะเป็นคนส่งถ่ายผีให้รุ่นต่อๆไปที่เป็นผู้อาวุโส แล้วต้องสร้างหิ้งผี หรือ บ้านเก๊าผี ซึ่งเทียบแล้วหิ้งพระจะอยู่ด้านนอก ส่วนหิ้งผีจะอยู่ซอกมุม (ผี เป็นผู้หญิงที่เป็นผู้สืบทอดผี สำหรับปกป้องครอบครัว ส่วนในความเชื่อของมอญ ถ้าเริ่มมีเคราะห์ไม่ดี จะทำการเลี้ยงผี มีการฟ้อนผี หรืออีกอย่างเป็นการระบายความอัดอั้นอีกทางหนึ่ง นึกถึงเรื่องปอปผีฟ้าขึ้นมาเลย กลัวมาก
- ยุ้งข้าวกับเรือนแยกออกจากกัน เวลาตำข้าวก็จะสำให้พอกิน เพราะมอดจะไม่กินข้าวเปลือก
- ถ้าคนในบ้านเสียชีวิต ก็จะวางโลงศพไว้ใต้หิ้งพระ
อ่าว เรานั่งตรงนี้พอดีนี่หว่า
วันนี้มานอนที่สุโขทัย ห้องใหญ่ น่ากลัวมาก กลัวผีอีกแล้ว ประกอบกับเรื่องปอบผีฟ้าอีก แต่ความเหนื่อยมันครอบงำ เลยนอนหลับปุ๋ย
วันที่ 7 (10 ก.ค.)
1. สนามบินสุโขทัย สายการบิน Bangkok Airways
- โครงสร้างตัวอาคารสนามบินวางจันทัน ล้อเลียนลักษณะของไทย แต่ไม่ได้ลอกเลียน มีการใช้เสากลม ไม่ใช้ม้าต่างไหม ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นอาคารโถง ออกแบบโดยบริษัท Habita อิฐไม่ฉาบปูน เอาระเบียบอิฐมาจัด ปิดทึบบ้าง แต่บ้างก็โล่ง งานสถาปัตยกรรมเข้ากับ diagram ใช้วัสดุท้องถิ่น สามารถควบคุม space ได้ ใช้ภูมิปัญญาอดีต ข่มรายละเอียดของการใช้เทคโนโลยีได้ดี
- สนามบินเป็นสนามบินส่วนตัวเกิดในปี 2539 มี runway ความยาว 210 เมตร
- ในส่วนของอาคารผู้โดยสารได้รับการบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม สนามบินต้องไม่รุกล้ำความเป็นพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อม
- ในส่วน lounge ผู้โดยสาร รองรับคนได้ 130 ที่นั่ง ลดอุณหภูมิโดยการใช้น้ำหยดบนหลังคา เนื่องจากสุโขทัยมีฝนตกหนักเพียงเดือนละ 1 ครั้ง รอบด้านมีลักษณะโปร่งไม่มีผนังกั้น แต่ให้ความปลอดภัยโดยการใช้บ่อบัวรอบด้าน
- มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็น landmark แสดงถึงความเป็นสุโขทัย การจัด landscape บริเวณ runway เป็นแบบพุ่มไม้ แต่จัดทำให้เป็นลายคล้ายผ้าซิ่นตีนจกของสุโขทัย
- ส่วนโถงทางเข้า ทำเป็นชานชาลาคล้ายศาลาท่าน้ำ มองออกไปเห็นยอดเขาหลวง คล้ายผู้หญิงสยายผม
2. Sukhothai Heritage Resort
- โรงแรม 68 ห้อง วางผังแบบสมมาตร สองฝั่งเหมือนกันทุกอย่าง
- Idea คล้ายๆ สนามบินสุโขทัย แต่เนี๊ยบกว่า จนรู้สึกว่าเนี๊ยบเกิน จนขาดคุณค่าทางความงามของกาลเวลา
3. ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก
- ออกแบบโดยสถาปนิก คือคุณรณฤทธิ์ ธนโกเศศ ออกแบบได้รางวัลของ ASA จากการจับลักษณะเฉพาะของช่องเปิดจากความเป็นสุโขทัย
- ด้านหน้าบริเวณรั้วเป็นตะเกียงโบราณ มีพุ่มไม้กลืนไปกับถนนกับอาคารไปด้วยกันได้ รั้วเป็นศิลาแลง ทางเดินมีลักษณะเป็นแบบเข้าๆออกๆ เป็นการออกแบบในลักษณะของ landscape ซึ่งเป็นการแสวงหาความร่วมสมัยในยุคโมเดิร์น มีภาษาของอดีตสอดแทรก มาร้อยเรียงโครงสร้างเบา ดูลักษณะการแบ่งอาคาร เคารพต่อสภาพแวดล้อม ทิวทัศน์แมกไม้ในดงห้วย มีการเปิดช่องตั้ง
4. วัดอารัญญิก (ถัดด้านบนไปเป็นวันเขาใหญ่ และมีวัดถัดสูงขึ้นไปอีก แต่ไปไม่ถึง) อ.ศรีสัชนาลัย
- มีสันเขาไหลเลื้อย เอาเขาไว้กลางเมือง มีตำนานว่าเป็นเมืองลูกหลวงสุโขทัย ไว้ให้สำหรับผู้ที่จะเป็นกษัตริย์คนต่อไปมาปกครองที่แห่งนี้ก่อน มีระเบียบในการก่อเจดีย์ทำ wall bearing เหลื่อมกันไป ศิลาแลงสามเหลี่ยม พญานาคยึดหักมุม ยังคงเห็นฝีมือการฉาบปูนหลงเหลืออยู่ สร้างอาคารศิลาแลงบน contour เล่นระดับได้ดีกับ contour มีการยักเยื้อง ย่อมุม และการใช้ mass ตัน เส้น contour สู่ระนาบเส้นนอน เกิดเป็น natural form สู่ geometric form
วัดเขาใหญ่
5. วัดนางพญา
- มีแห่งเดียวในไทย ที่มีผนังเป็นลายพฤกษา เชื่อว่าเป็นผนังไม้ ลูกฟักนอน void ตั้ง ช่องยังไม่ค้นพบ เอาจากจากเรียงอิฐ เจดีย์ทรงลังกา เสาสูงโดยการก่อศิลาแลง อาจเป็นเสาไม้มาก่อน มีโถงมุข หลังพระประธานเป็นเจดีย์ ขุดกรุพระบรมสารีริกธาตุ และอาจมีสมบัติอยู่ มีกลองบูชา ซึ่งกลองใช้ตีบอกเวลาการทำวัตร ให้คนอยู่ไกลๆรู้ และอนุโมทนาไปด้วย กลอง (ประโคม) แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนายังอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ก่อแบบ Corbel (ลักษณะการเรียงอิฐเยื้องกันไปจากสองด้านทำให้เกิดช่องว่าง) ลักษณะของสุโขทัยคือการเน้นวิหารไว้ด้านหน้า
6. เชียงชื่น (ภาคเหนือเรียก) อ.ศรีสัชนาลัย
- มีเสาเล็กๆรายล้อมเป็นเสาประทีป มีการซ้อนชั้น ผนังกำแพงโอบล้อมพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ เสาประทีปทำให้ดูเบาขึ้น
7. วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
- คาดว่ามีการลอกเลียนมากจากอินเดีย ดูได้จากเจดีย์ที่มีลักษณะเป็น โอคว่ำ คล้ายบาตรคว่ำ
8. วัดเจดีย์เจ็ดแถว
- เป็นวัดเจ้านาย คล้ายวัดพระแก้วฯ เจดีย์เป็นทรงดอกบัว ไม่มีระเบียง
9. วัดช้างล้อม
- มีลักษณะเด่นเป็นการเรียงตัวโอบล้อมของงานประติมากรรมที่เป็นช้างล้อมรอบ
วันที่ 8 (11 ก.ค.)
วันนี้ต้องตื่นเช้ามากกก แต่ตื่นไม่สาย ต้องยกความดีให้นัทธีเพื่อนร่วมห้อง ที่ปลุกแต่เช้า
วันนี้ล้อไม่หมุนฟรี เพราะออกตีห้าครึ่งเป๊ะ
1. วัดเชลียง
- วัดเชลียงเป็นหนึ่งในกลุ่มวัดอุทยานศรีสัชนาลัย ในยุคสุโขทัย แต่ตอนหลังที่อยุธยาเข้ามาแทน ก็เปลี่ยนจากเจดีย์เป็นพระปรางค์ อาคารเดิมคาดว่าเป็นไม้ ถูกกลายเป็นศิลาแลงแทน มีพระปรางค์ลีลาที่สวยงาม ผ้าพลิ้วบางให้เห็นสัดส่วนของกายวิภาค และค่อนข้างสมบูรณ์พอสมควร บริเวณซุ้มประตูทางเข้ากับพระปรางค์เป็นแกนเดียวกัน แต่ด้วยเส้นขวางและพระปรางค์ที่ตั้งทำให้เกิดการแตกต่างอย่างชัดเจน ปราการป้องกันเกิดความแข็งแรง มีการเจาะช่องตั้ง ระนาบดูบางเบาฐานไม่สูง
2. วัดกุฏีราย
- มีลักษณะเป็นแบบ Corbel การลาดเอียงแบบทรงไทย ขื่อไม้พาดหลังคา ช่อง void ตั้ง หลังคาแบบสุโขทัย และม้าต่างไหมแบบภาคเหนือ
3. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- เป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์แบบเพราะจะเห็นหลังคา แต่ถ้าไม่มีจะทำให้เห็น mass form ที่ชัดเจน รวมถึงตัววัสดุด้วย
4. เนินปราสาท
- เป็นดงตาล มีพระแท่นมนังคศิลา คาดว่าอาจมีอาคารไม้หรือเรือนไม้อยู่ อยู่บริเวณวัดมหาธาตุสุโขทัย
7. วัดพระพรายหลวง
- ลายตรงพระปรางค์จะโค้งแบบขอมมากกว่า ไม่ใช่ลายเดียวกับสุโขทัย
- พญานาคทำให้เสาดูแข็ง
- กรอบประตูของขอมจะดูรุนแรง เอาคติมาจากเขาพระสุเมน แต่ละด้านที่มีเทวดาก็เหมือนสวรรค์ เป็นลักษณะของปรางค์สุโขทัยแบบขอม
- scale ศิลาแลงก้อนใหญ่ ดูระเกะระกะเลยต้องเอาปูนปิด
- เป็นเขื่อนที่เลี้ยงเมืองสุโขทัย ปัจจุบันยังอยู่ในสภาพดี มีเขารายล้อม
วันที่ 9 (12 ก.ค.)
วันนี้กล้องงอแง เปิดไม่ได้ เปิดได้ก็ปิดไม่ได้ เลยได้รูปมาจิ๊ดดดเดียว แถมต้องอารมณ์เสียทั้งวันเพราะกล้องพังอีกต่างหาก ฮือๆ
1. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
2. วัดราชบูรณะ
หลังคาจั่วเดี่ยว ปีกนกเป็น hip 2 ตับ ไม่ตีฝ้าเพดาน แต่เดิมเชื่อมีลายกรุทอง ไม่มีจันทัน แบบสุโขทัยแท้ที่เหลืออยู่ โบสถ์ติดฝ้าเพดาน ผนังด้านข้างเป็นยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคอยุธยาตอนปลาย ในส่วนของโบสถ์มีภาพจิตรกรรมที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอีกวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในส่วนสถาปัตยกรรมเป็นแบบสุโขทัย สามารถมองเห็นช่องระบายน้ำบริเวณส่วนต่อผนังกับพื้นได้เหมือนกับยุคสุโขทัย แบบวัดศรีชุม เป็นต้น
จบทริปแล้ว ก็นั่งเล่นป้อกเด้งกันตั้งแต่พิษณุโลกยันกรุงเทพฯ เสียไป 40 บาท(หงุดหงิดหนักกว่าเดิม)
ทริปอาจารย์จิ๋วคราวนี้ ได้อะไรเยอะมาก ทั้งความรู้ และประสบการณ์ที่ในชีวิตนี้ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ไปเดินย่ำโคลน ลื่นๆ แหยะๆ ตะเกียกตะกายเดินในโคลน ถ่ายรูปกลางสายฝน เดินเข้าบ้านคนอื่นเฉยๆ ส่วนตัวชอบการปีนป่ายโบราณสถานมาก เพราะชอบปีนเขา (เกี่ยวไหม) ที่สำคัญคือ ได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ บางอย่างเป็นรากเหง้าของเรา แต่เราไม่เคยได้เห็น หรือสัมผัสจริงๆ การมาทริปอาจารย์จิ๋วครั้งนี้ คุ้ม และ สนุกมากๆ ถึงแม้จะเหนื่อย และโอดครวญบ้างบางครั้ง แต่ทริปครั้งนี้เป็นทริปที่น่าประทับใจ ทริปหนึ่งในชีวิตค่ะ